โครงสร้างและเนื้อหา
หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน
สาขาเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยว
คณะเวชศาสตร์เขตร้อน
พ.ศ. ๒๕๖๕
ชื่อหลักสูตร
หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
สาขาเวชศาสตร์ป้องกัน (เวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยว)
Residency Training in Preventive Medicine (Travel Medicine)
ชื่อวุฒิบัตร
วุฒิบัตรเพื่อแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
สาขาเวชศาสตร์ป้องกัน (เวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยว)
Diploma of the Thai Board of Preventive Medicine (Travel Medicine)
ชื่อย่อ
วว. เวชศาสตร์ป้องกัน (เวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยว)
Dip. Preventive Medicine (Travel Medicine)
พันธกิจของการฝึกอบรม
เวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยว เป็นเวชศาสตร์ป้องกันแขนงใหม่ ที่เกิดจากการบูรณาการของศาสตร์ต่างๆทางด้านสาธารณสุขและทางการแพทย์ ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางและท่องเที่ยว แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยวจำเป็นต้องมีความรู้และทักษะทั้งในด้านวิทยาการระบาดและเวชปฏิบัติโรคเขตร้อนและโรคอื่นๆ ที่สำคัญทั้งในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ทั่วโลก การเฝ้าระวัง สอบสวน และป้องกันควบคุมโรคติดต่อ รวมถึงสามารถบูรณาการความรู้และทักษะเหล่านี้เพื่อต่อยอดองค์ความรู้และสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ได้
คณะเวชศาสตร์เขตร้อนในฐานะสถาบันทางการแพทย์ที่มีบุคลากรและองค์ความรู้ในศาสตร์สาขานี้มายาวนานจึงได้มีบทบาทในการเป็นสถาบันหลักในการฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางสาขาดังกล่าว โดยกำหนดพันธกิจของหลักสูตรดังนี้
เพื่อให้แพทย์ผู้จบหลักสูตรมีความรู้ความสามารถที่ครอบคลุมตั้งแต่การประเมินความเสี่ยง ให้คำปรึกษา ให้ความรู้ ที่เกี่ยวเนื่องกับการป้องกันและดูแลรักษาผู้เดินทางและนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศอย่างถูกต้องเหมาะสมในแต่ละบริบท รวมถึงการเฝ้าระวัง สอบสวนโรคที่เกิดจากการเดินทางและท่องเที่ยว และจัดการแก้ไขปัญหา/โรคและภัยสุขภาพต่างๆ อันเกี่ยวเนื่องกับการเดินทางและท่องเที่ยวได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
นอกจากนี้ความรู้และทักษะเฉพาะแขนงแล้ว แพทย์ด้านเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยวยังต้องมีความสามารถด้านอื่นๆที่สาคัญได้แก่ ความสามารถในการเรียนรู้เพื่อให้มีการพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง ความสามารถด้านการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ ความเป็นมืออาชีพ การสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ การทางานเป็นทีม การปฏิบัติงานแบบสหวิชาชีพ ความรู้ความเข้าใจในระบบสุขภาพของประเทศ การบริหารจัดการ กระบวนการคุณภาพและความปลอดภัย ตลอดจนความรับผิดชอบ มีจริยธรรม ทัศนคติ และเจตคติที่ดีต่อผู้ป่วย ผู้ร่วมงาน และองค์กร มีความเอื้ออาทรและใสใจในความปลอดภัย โดยยึดถือผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง นโยบายการผลิตแพทย์เวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยวนั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของความต้องการของระบบสุขภาพรวมทั้งมิติด้านอื่นๆทางสังคม ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดของประเทศ
พันธกิจและผลลัพท์การฝึกอบรม ดูรายละเอียดได้ที่นี่ pdf
วัตถุประสงค์
เพื่อให้แพทย์ที่ผ่านการอบรมแล้ว มีความรู้ความชำนาญในการวางแผน ดำเนินการจัด และให้บริการด้านเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยว โดยจะต้องมีความสามารถในการปฏิบัติงานดังนี้ คือ
1. อธิบายประเด็นความเกี่ยวข้องระหว่างการเดินทางและท่องเที่ยวกับสุขภาพของคน
2. ให้บริการเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยวตามขั้นตอนเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันควบคุมโรค การวินิจฉัยการรักษาโรค และการฟื้นฟูสภาพจากโรคทั้งติดต่อและไม่ติดต่อ ที่เกี่ยวเนื่องกับการเดินทางและท่องเที่ยว
3. บริหารจัดการภาวะฉุกเฉินทางการเดินทางและท่องเที่ยว และการส่งต่อผู้ป่วย
4. ดำเนินการระบบเฝ้าระวังโรคที่เกี่ยวเนื่องกับการเดินทางและท่องเที่ยว
5. ตรวจคัดกรองสุขภาพเริ่มแรก และต่อเนื่อง ให้แก่นักท่องเที่ยวทั้งก่อนการเดินทางและหลังการเดินทาง
6. เผยแพร่ ฝึกอบรม ให้คำแนะนำและคำปรึกษาเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันควบคุมโรค การรักษาและการฟื้นฟูสภาพให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ สาธารณสุข และประชาชนทั่วไป ที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางและท่องเที่ยว
7. ประยุกต์ใช้กฏหมายที่เกี่ยวกับการเดินทาง และการควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ได้เป็นอย่างดี
8. ประยุกต์ใช้ ระบบข้อมูล สารสนเทศด้านเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยวและสามารถนำมาใช้ในการบริการ การเรียนการสอนและการศึกษาวิจัยได้
9. ดำเนินการวิจัย และนำเสนอผลงานทางวิชาการอย่างถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์ได้
10. มีคุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบ และเจตคติที่ดีต่อผู้รับบริการ ผู้ร่วมงาน เพื่อนร่วมวิชาชีพ และชุมชน
เนื้อหาโดยสังเขปของการฝึกอบรม
(Download เนื้อหาหลักสูตรฉบับสมบูรณ์ได้ที่นี่)
1. พื้นฐานและหลักการของเวชศาสตร์ป้องกัน
2. ความรู้พื้นฐานด้านเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยว
3. การให้คำปรึกษาก่อนการเดินทาง
4. การควบคุม ป้องกัน และรักษาโรคที่พบบ่อยและสำคัญของเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยว
5. ปัญหาทางการแพทย์ และสาธารณสุขที่สำคัญของเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยว
6. วิทยาการระบาด การเฝ้าระวัง สอบสวนโรคที่เกี่ยวกับการเดินทางและท่องเที่ยว/ระเบียบวิธีวิจัย
7. เวชศาสตร์การบินที่เกี่ยวข้องกับเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยว
8. การเฝ้าระวัง และติดตามผู้ป่วยที่เป็นโรคหลังการเดินทางและท่องเที่ยว
9. ทักษะ/เจตคติของวิชาชีพ และความรู้ทางด้านบูรณาการ
ระยะเวลาในการฝึกอบรม 3 ปี เริ่มตั้งแต่ วันที่ 1 กรกฎาคม ของทุกปี
วิธีการฝึกอบรม
1. ฝึกปฎิบัติงานในคลินิกเวชศาสตร์ท่องเที่ยวและการเดินทาง และคลินิกอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
2. ประเมินและให้คำแนะนำในนักเดินทางทั้งก่อนและหลังการเดินทาง ตลอดจนการเฝ้าระวังโรค
3. ให้การดูแลรักษา และประเมินนักเดินทางที่มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับการเดินทางและท่องเที่ยว ทั้ง OPD, IPD
และอยู่เวรนอกเวลาราชการ
4. ฟังบรรยาย เข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาการต่างๆ เช่น Journal club, Case discussion, Topic review
5. ศึกษาดูงานและปฏิบัติงานในหน่วยงาน สถาบัน องค์กรที่เกี่ยวข้องกับเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยว เช่น
ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศต่างๆ สนามบิน ท่าเรือ ศูนย์ผู้อพยพลี้ภัย
6. ศึกษาหลักสูตรปริญญาโท ด้านอายุรศาสตร์เขตร้อน (MCTM)
7. ทำการวิจัย ในสาขาเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยว
8. เข้าร่วมประชุมวิชาการ และร่วมนำเสนอผลงานในด้านเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยว
จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม ไม่เกิน 5 คน
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
สมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย
แพทยสภา