มาลาเรีย: ความเสี่ยงที่ไม่ควรมองข้ามเวลาไปเที่ยว

พอพูดถึงโรคมาลาเรีย หลายคนอาจทำหน้างงๆ ไม่ค่อยคุ้นเท่าไร ซึ่งก็ไม่แปลกครับ เพราะปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคนี้ลดลงมาก อย่างไรก็ตามนักท่องเที่ยวไม่ควรมองข้ามครับ เพราะถ้าละเลย ไม่ใส่ใจ เราอาจเดินทางเข้าไปในพื้นที่เสี่ยงของโรค และติดโรคกลับมาโดยไม่รู้ตัว และยิ่งไม่ได้ไปหาหมอรักษา โรคนี้จะทำให้เกิดอาการรุนแรงและเสียชีวิตได้ในเวลาอันรวดเร็ว

วันนี้เราจะมาคุยกันเรื่องโรคนี้ครับว่าทำไมถึงมีความสำคัญในนักท่องเที่ยว

1. โรคมาลาเรียคืออะไร ติดต่ออย่างไร และร้ายแรงไหม

โรคมาลาเรียเกิดจากเชื้อโปรโตซัวชนิดหนึ่งครับ (Plasmodium spp.) เชื้อนี้จะอาศัยอยู่ในเม็ดเลือดแดง คนเราติดเชื้อมาลาเรียได้ถ้าถูกยุงก้นปล่องที่มีเชื้อกัดครับ เมื่อถูกกัดแล้ว เชื้อจะเข้าสู่ร่างกาย และอยู่ในระยะฟักตัวซึ่งจะแตกต่างกันไปตามแต่ละคน ส่วนใหญ่จะประมาณ 2 สัปดาห์ถึง 2 เดือน หลังจากนั้นผู้ป่วยจะเริ่มมีไข้ โดยมักจะเป็นไข้สูง หนาวสั่น ปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาการไข้อาจจะเป็นทุกวันหรือวันเว้นวัน วันเว้นสองวันก็ได้

ถ้าไม่ได้รักษา อาการจะรุนแรงขึ้น มีตาเหลืองตัวเหลือง ไตวาย เกิดภาวะมาลาเรียขึ้นสมอง และทำให้เสียชีวิตได้ในเวลาอันรวดเร็ว ดังนั้นเราควรรู้ วิธีและหลักการป้องกันโรคมาลาเรีย

2. ประเทศไทยยังมีมาลาเรียอยู่ไหม

แม้ว่าปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยโรคมาลาเรียจะลดลงมาก แต่ประเทศไทยยังมีโรคมาลาเรียอยู่ครับ โดยอยู่เฉพาะในพื้นที่ป่าเขา น้ำตก โดยเฉพาะในบริเวณตะเข็บชายแดน แถบจังหวัดกาญจนบุรี ตาก ราชบุรี เพชรบุรี อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ฯลฯ โดยทั่วไปจะแนะนำว่า ถ้าจะเข้าป่าให้ทายากันยุงครับ โดยเฉพาะในกลางคืน ตั้งแต่หัวค่ำเป็นต้นไปถึงก่อนสว่าง เพราะยุงก้นปล่องมักออกหากินในเวลากลางคืนครับ

เราไม่พบโรคมาลาเรียในพื้นที่เขตเมือง ดังนั้นถ้าเราไปเที่ยวจังหวัดเหล่านี้แต่อยู่ในเขตเมืองตลอดก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าเข้าป่าก็ต้องระวังไว้บ้างครับ เพราะบางจุดเราอาจจะลืม หรือมองข้ามไปไม่คิดว่าจะมีโรคมาลาเรีย เช่น การเที่ยวในแถบอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี หรืออำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี หรือแม้แต่ในน้ำตกป่าละอูในเขตอำเภอหัวหิน ใครไปแถวนี้อย่าลืมทายากันยุงนะครับ และถ้ามีไข้ต้องรีบไปพบแพทย์

นำ้ตกป่าละอู อำเภอหัวหิน

3. ถ้าเที่ยวต่างประเทศล่ะ มีประเทศไหนที่ยังมีโรคมาลาเรียบ้าง

โรคมาลาเรียยังมีอยู่ในทวีปแอฟริกา อเมริกากลาง อเมริกาใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลองดูแผนที่ด้านล่างที่แสดงพื้นที่ระบาดของมาลาเรียดูครับ โดยพื้นที่สีแดงเข้มจะมีความเสี่ยงสูงกว่าพื้นที่สีแดงอ่อน ดังนั้นนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางไปในพื้นที่ที่มีสีแดงให้ระวังเรื่องมาลาเรียไว้บ้างครับ

มีข้อสังเกตุและข้อควรระวังบ้างครับในการดูแผนที่มาลาเรีย คือแผนที่นี้เป็นแผนที่ระดับโลก ซึ่งไม่ได้ให้รายละเอียดถึงความเสี่ยงในระดับพื้นที่ ลองดูในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือแถบบ้านเราก็ได้ครับ จะเห็นว่าบางพื้นที่ดูมีสีแดงเข้มไปหมด เช่นประเทศกัมพูชา . . . → Read More: มาลาเรีย: ความเสี่ยงที่ไม่ควรมองข้ามเวลาไปเที่ยว