การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อเกิดการบาดเจ็บขณะเดินทาง

ในช่วงเทศกาล วันหยุดยาว หลายๆ คนวางแผนไปเที่ยวต่างจังหวัด เที่ยวป่า เที่ยวภูเขา น้ำตก แม่น้ำ ฯลฯ ซึ่งอาจมีกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดการบาดเจ็บได้ ดังนั้นการเตรียมตัวก่อนเดินทางและการเรียนรู้วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นแก่ผู้บาดเจ็บอย่างถูกวิธีถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญสำหรับนักท่องเที่ยว เพื่อให้อาการบาดเจ็บบรรเทาลง และสามารถส่งต่อผู้ป่วยแก่แพทย์ผู้ชำนาญการได้ทันท่วงที ส่งผลให้การเดินทางเป็นไปอย่างราบรื่นและปลอดภัยให้สมกับความตั้งใจแต่แรก  สำหรับอาการบาดเจ็บที่พบบ่อยในขณะเดินทางมีไม่กี่สาเหตุด้วยกัน อาทิเช่น บาดเจ็บจากเป็นแผลถลอก ไฟไหม้ เลือดกำเดาไหล กระดูกหัก เคล็ด ขัดยอก ฟกช้ำ ห้อเลือด เลือดไหล แมลงสัตว์กัดต่อย ลมพิษ ฯลฯ โดยอาการเหล่านี้มีตั้งแต่อาการบาดเจ็บเล็กน้อย ถึงอาการบาดเจ็บขั้นรุนแรง ต้องรีบนำตัวผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยด่วน ทั้งนี้ ตัวผู้ป่วยเองและผู้พบเห็นเหตุการณ์ควรตั้งสติให้ดี และควรขอความช่วยเหลือจากสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุดเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการพยาบาลโดยเร็วที่สุด. 

 
First Aid Kit

อุปกรณ์ปฐมพยาบาล (First Aid Kit)

 

 การปฐมพยาบาลเบื้องต้นในบาดแผลแบบต่างๆ 

1 การปฐมพยาบาลบาดแผลถลอก (Abrasion wounds)

บาดแผลถลอกหมายถึงการเป็นบาดแผลที่เกิดจากการถูกขีดข่วน ถูกถูหรือถูกครูด บาดแผลชนิดนี้จะตื้นเพียงแค่ผิวหนังชั้นนอกเท่านั้น และมีเลือดออกเล็กน้อย อันตรายของบาดแผลอยู่ที่การติดเชื้อ บาดแผลถลอกที่พบได้เสมอ คือ การหกล้ม เข่าถลอก ดังนั้นเมื่อเกิดบาดแผลขึ้นต้องรีบปฐมพยาบาล  เพื่อลดอาการเจ็บปวดและป้องกันไม่ให้แผลติดเชื้อ

อุปกรณ์

1. ชุดทำแผล ได้แก่ ปากคีบ ถ้วยใส่สารละลาย สำลี ผ้าก๊อส และพาสเตอร์ปิดแผล

2. สารละลาย ได้แก่ น้ำยาฆ่าเชื้อ และ น้ำเกลือล้างแผล

3. แอลกอฮอล์ 70%

4. เบตาดีน หรือ โปรวิดี ไอโอดีน

* ท่านสามารถซื้อชุดทำแผลดังกล่าว ได้ตามร้านขายอุปกรณ์ทางการแพทย์ทั่วไป

วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

1. ให้ชำระล้างบาดแผลด้วยน้ำสบู่และน้ำสะอาด ถ้ามีเศษหิน ขี้ผง ทราย อยู่ในบาดแผลให้ใช้น้ำสะอาดล้างออกให้หมด

2. ใช้ปากคีบสำลีชุบแอลกอฮอล์ 70%  พอหมาดๆ เช็ดรอบๆ บาดแผลเพื่อฆ่าเชื้อโรครอบๆ (ไม่ควรเช็ดลงบาดแผลโดยตรง เพราะจะทำให้ เจ็บแสบมาก เนื่องจากยังเป็นแผลสด)

3. ใช้สำลีชุบเบตาดีนหรือโปรวิดี ไอโอดีน ใส่แผลสด ทาลงบาดแผล แล้วปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ต้องปิดบาดแผล ยกเว้นบาดแผลที่เท้าซึ่งควรปิด ด้วยผ้าก๊อซสะอาด เพื่อป้องกันฝุ่นละออง

4. ระวังอย่าให้บาดแผลถูกน้ำ

5. ไม่ควรแกะหรือเกาบาดแผลที่แห้งตกสะเก็ดแล้ว เพราะทำให้เลือดไหลอีก สะเก็ดแผลเหล่านั้นจะแห้งและหลุดออกเอง

 
 
 
 

 

 

2 การปฐมพยาบาลบาดแผลฟกช้ำ (Contusion)

บาดแผลฟกช้ำหรือบาดแผลเปิด เป็นบาดแผลที่ไม่มีร่องรอยของผิวหนัง แต่มีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อและหลอดเลือดบริเวณที่อยู่ใต้ผิวหนังส่วนนั้น มักเกิดจากแรงกระแทกของแข็งที่ไม่มีคม เช่น ถูกชน หกล้ม เป็นต้น ทำให้เห็นเป็นรอยฟกช้ำ  บวมแดงหรือเขียว

อุปกรณ์  

1. น้ำเย็น

2. ผ้าขนหนูผืนเล็ก

3. ผ้าพันแผลชนิดเป็นม้วน

วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

1. ให้ประคบบริเวณนั้นด้วยความเย็น เพราะความเย็นจะช่วยให้เลือดใต้ผิวหนังบริเวณนั้นออกน้อยลง โดยใช้ผ้าชุบน้ำเย็นประคบหรือใช้ผ้า ห่อน้ำแข็งประคบเบาๆ ก็ได้

2. ถ้าบาดแผลฟกช้ำเกิดขึ้นกับอวัยวะที่ต้องมีการเคลื่อนไหวอยู่เสมอ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า ข้อศอก เป็นต้น ให้ใช้ผ้าพันแผลชนิดเป็นม้วนที่ยืดหยุ่นได้พันรอบข้อเหล่านั้นให้แน่นพอสมควร เพื่อช่วยให้อวัยวะที่มีบาดแผลอยู่นิ่งๆ และพยายามอย่างเคลื่อนไหวผ่านบริเวณนั้น รอยช้ำค่อยๆ จางหายไปเอง

 
 
 
 

 

 

3 การปฐมพยาบาลบาดแผลถูกของมีคมบาด (Incision wounds)

บาดแผลแยกหรือบาดแผลเปิด  เป็นบาดแผลที่เกิดจากการฉีกขาดของผิวหนังหรือเนื้อเยื่อจากการถูกของมีคมบาด แทง  กรีด  หรือถูกวัตถุกระแทกแรงจนเกิดบาดแผล  มองเห็นมีเลือดไหลออกมา   

อุปกรณ์ เช่นเดียวกับการปฐมพยาบาลแผลถลอก

วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

 1.  ใช้สำลีเช็ดเลือด และกดห้ามเลือด

2.  ใช้แอลกอฮอล์เช็ดทำความสะอาดรอบๆ แผล

3.  ใช้สำลีชุบเบตาดีน หรือ โปรวิดี ไอโอดีนใส่แผลสดทารอบๆ แผล

4.  ใช้ผ้าพันแผล หรือพลาสเตอร์ปิดแผล

5. รีบน้ำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลให้กรณีบาดแผลรุนแรง

 
 
 
 

 

 

4 การปฐมพยาบาลบาดแผลกระดูกหัก (Fracture)

กระดูกหัก คือ การที่กระดูกแยกออกจากกัน ก่อให้เกิดความเจ็บปวด บวม เคลื่อนไหวไม่ได้หรือเคลื่อนไหวผิดปกติ เนื่องจากอุบัติเหตุ เช่น ถูกรถชน หกล้ม ตกจากที่สูง หรือกระดูกเป็นโรคไม่แข็งแรงอยู่แล้ว กระดูกเปราะเมื่อถูกแรงกระทบกระเทือนเพียงเล็กน้อยก็อาจหักได้

อุปกรณ์

1. แผ่นไม้หรือหนังสือหนาๆ

2. ผ้าพันยึด

วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

1. วางอวัยวะส่วนนั้นบนแผ่นไม้หรือหนังสือหนา ๆ

2. ใช้ผ้าพันยึดไม้ให้เคลื่อนไหว

3. ถ้าเป็นปลายแขนหรือมือใช้ผ้าคล้องคอ

 
 

  

5 การปฐมพยาบาลเมื่อถูกแมลงกัดต่อย (Insect bite)

แมลงหลายชนิดมีเหล็กใน  เช่น  ผึ้ง  ต่อ  แตน  เป็นต้น  เมื่อต่อยแล้วมักจะทิ้งเหล็กในไว้  ภายในเหล็กในจะมีพิษของแมลงพวกนี้มักมีฤทธิ์ที่เป็นกรด  บริเวณที่ถูกต่อยจะบวมแดง  คันและปวด อาการปวดจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับบริเวณที่ต่อยและสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล

อุปกรณ์

1. อุปกรณ์ที่มีรูสามารถกดลงเพื่อเอาเหล็กในออกเช่น ลูกกุญแจ

2. อุปกรณ์สะอาดสำหรับคีบเอาเหล็กในออก

3. สำลีชุบแอมโมเนีย

วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

 1.  ใช้ลูกกุญแจที่มีรูกดตรงจุดที่ถูกต่อย แล้วใช้ที่หนีบคีบเอาเหล็กในออก

2.  กดหรือบีบบาดแผลไล่น้ำพิษออก

3.  ใช้สำลีชุมแอมโมเนียทาบริเวณแผล

4. ใช้น้ำแข็งประคบบริเวณแผล เพื่อระงับอาการปวดและช่วยลดการซึมซาบของพิษ

5. สังเกตดูอาการ ถ้าไม่ดีขึ้นรีบพาไปพบแพทย์

6 การปฐมพยาบาลเมื่อถูกไฟไหม้ หรือน้ำร้อนลวก (Burning)

อุปกรณ์ เช่นเดียวกับการทำแผล

วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

1.  ใช้สารละลายล้างแผล

2.  ทายาแก้ไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวกให้ทั่วบาดแผล

3.  ปิดบาดแผลด้วยผ้ากอซเพื่อป้องกันฝุ่นละออง

4.  ติดพลาสเตอร์ทับให้เรียบร้อย

5. ในกรณีที่แผลรุนแรงต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน

 
* ไม่ควรใช้ยาสีฟันทาแผล เพราะแผลอาจอักเสบมากขึ้นและอาจหายช้า
  
 
 
 

 

 

7 การปฐมพยาบาลเมื่อเลือดกำเดาไหล (Epistaxis )

อุปกรณ์ ผ้าชุบน้ำเย็น

วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

1.  นั่งนิ่งๆ ก้มหน้าลงเล็กน้อย บีบจมูกนาน 10 นาที

2.  ใช้ผ้าชุบน้ำเย็น หรือน้ำแข็งวางบนหน้าผาก สันจมูก หรือใต้ขากรรไกร

3.  ถ้าเลือดกำเดายังไม่หยุดไหล ให้รีบไปพบแพทย์

 

  

 

“จะเห็นได้ว่าการปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้แก่ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บขณะเดินทาง

ไม่ใช่เรื่องยากหากท่านใส่ใจ ให้ความสำคัญและพร้อมที่จะเรียนรู้การปฏิบัติที่ถูกต้องตามวิธีการ

 

Leave a Reply

You can use these HTML tags

<a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <s> <strike> <strong>