มาทำความรู้จักโรคอีโบลา (Ebola) : ตระหนักแต่ไม่ตื่นตระหนก

ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมานี้ เราคงเคยได้ยินชื่อโรคโรคหนึ่งที่คนทั้งโลกและสื่อต่างๆให้ความสนใจมากเป็นพิเศษ เนื่องจากมีการระบาดครั้งใหญ่ในกลุ่มประเทศแอฟริกาตะวันตก (West Africa) ในปี 2014-2016 เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตสูงถึง 10,000 กว่าราย และในเหตุการณ์เดียวกันนี้เอง องค์การอนามัยโลกได้ยกระดับเหตุการณ์ขึ้นเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (Public Health Emergency of International Concern หรือ PHEIC) เพื่ออาศัยความร่วมมือระดับนานาชาติในการร่วมกันรับมือกับเหตุการณ์ระบาดครั้งนั้น

เรากำลังจะพูดถึง โรคอีโบลา (Ebola) ครับ ถึงแม้ว่าโรคนี้ยังไม่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยก็ตาม แต่ก็ไม่ควรละเลยที่จะทำความรู้จักกับมัน มาดูกันว่า 9 เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับโรคอีโบลามีอะไรกันบ้าง

อีโบลา เป็นชื่อของแม่น้ำสายหนึ่งในประเทศสาธารณรัฐซาอีร์ (Zaire) ซึ่งปัจจุบันคือสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (Democratic Republic of Congo) หรือเรียกง่ายๆว่า DRC โดยพบว่ามีการระบาดของไข้เลือดออกชนิดหนึ่งในปี 1976 (โดยในขณะนั้นยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด) ในหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ใกล้ๆ กับแม่น้ำสายนี้ ซึ่งต่อมาถูกค้นพบว่าเกิดจากเชื้อไวรัส จึงตั้งชื่อว่า เชื้อไวรัสอีโบลา เชื้อไวรัสอีโบลานี้ ทำให้เกิดการระบาดในแถบประเทศแอฟริกามาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 1976 จนกระทั่งในปี 2014 เกิดการระบาดครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของเชื้อไวรัสอีโบลา ในประเทศแถบแอฟริกาตะวันตก ได้แก่ Guinea, Liberia และ Sierra Leone เป็นเหตุให้มีผู้ป่วยติดเชื้อและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ในจำนวนนี้รวมไปถึงเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ทำงานในพื้นที่ด้วยเช่นกัน การระบาดครั้งใหญ่ครั้งนี้เกิดจากระบบการเฝ้าระวังและการควบคุมโรคยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอรวมไปถึงมีการแพร่กระจายโรคเข้าสู่เขตเมืองซึ่งเป็นแหล่งที่มีคนอาศัยอยู่หนาแน่น เหตุการณ์ครั้งนั้นสร้างผลกระทบมากและสร้างความตื่นตระหนกไม่น้อย เนื่องจากเป็นการระบาดครั้งใหญ่ที่สุด กินเวลาถึง 2 ปี (2014-2016) มีผู้ป่วยรวมกันถึง 28,646 คน เสียชีวิตถึง 11,323 คน และได้พบผู้ป่วยนอกทวีปแอฟริกา รวมทั้งมีการนำผู้ป่วย ซึ่งเป็นบุคลากรทางการแพทย์กลับไปรักษาเช่น ที่สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร แต่ก็โชคดีที่สามารถควบคุมโรคได้ โรคอีโบลา เป็นโรคที่ติดต่อจากคนสู่คน (Human to human transmission) โดยการสัมผัสเลือกหรือสารคัดหลั่ง (ปัสสาวะ, น้ำลาย, เหงื่อ, อุจจาระ, อาเจียน, น้ำนม หรือน้ำอสุจิ) . . . → Read More: มาทำความรู้จักโรคอีโบลา (Ebola) : ตระหนักแต่ไม่ตื่นตระหนก