Altitude Sickness #2 อาการและการป้องกัน

บทความนี้จะขอกล่าวในรายละเอียดของภาวะ Altitude sickness สักเล็กน้อยเพื่อความเข้าใจในในการป้องกัน และการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดอาการของโรคขึ้น ถ้าใครยังไม่ได้อ่านบทความก่อนหน้านี้ (Altitude sickness #1 โรคที่ควรระวังในการเที่ยวที่สูง) ขอแนะนำให้กลับไปอ่านก่อนครับ จะได้เข้าใจยิ่งขึ้น

 

อาการของ High Altitude Sickness

จริงๆแล้ว High altitude sickness เป็นการกล่าวถึงกลุ่มโรคที่เกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถปรับตัวได้ในภาวะที่มีออกซิเจนน้อย ซึ่งประกอบด้วย 3 โรคหลักๆ ซึ่งมีความสัมพันธ์และมีความต่อเนื่องกันอยู่ในบางส่วนครับ คือ

1 Acute Mountain Sickness (AMS) ยังไม่มีชื่อภาษาไทยครับ เป็นโรคที่มีความรุนแรงไม่มาก เกิดเมื่อมีการเดินทางขึ้นไปที่สูง โดยทั่วไปต้องมากกว่า 2500 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล โดยนักท่องเที่ยวส่วนหนึ่งจะมีอาการปวดศีรษะ มึนศีรษะ ซึ่งเป็นอาการเด่นของภาวะนี้ อาการอื่นๆที่พบได้บ่อยคือ นอนไม่หลับ เหนื่อย หายใจเร็ว โดยอาการต่างๆเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นหลังจากขึ้นไปที่สูงประมาณ 4-10 ชั่วโมง ที่พบบ่อยคือเกิดขึ้นในคืนแรกที่ขึ้นไปที่สูง โดยทั่วไปอาการจะไม่รุนแรงมาก และร่างกายจะค่อยๆปรับตัวได้เองภายใน 1-2 วัน

2 High Altitude Cerebral Edema (HACE) หรือภาวะสมองบวมจากการอยู่ในพื้นที่สูง เป็นภาวะที่เกิดต่อเนื่องจากภาวะ AMS โดยผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน เดินเซ เห็นภาพซ้อน ถ้ามีอาการรุนแรงมากจะมีชัก หมดสติ จนถึงเสียชีวิตได้ ดังนั้นถ้ามีอาการดังกล่าวต้องรีบพบแพทย์ และเดินทางลงสู่ในพื้นที่ต่ำกว่าทันที

3 High Altitude Pulmonary Edema (HAPE) คือภาวะปอดบวมน้ำจากการอยู่ในพื้นที่สูง เป็นภาวะที่รุนแรงซึ่งอาจเกิดขึ้นเดี่ยวๆหรือเกิดขึ้นร่วมกับภาวะ HACE ก็ได้ ผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อยหอบ หายใจลำบาก อยู่เฉยๆก็เหนื่อย ภาวะนี้ทำให้เสียชีวิตได้ ดังนั้นถ้าเกิดภาวะดังกล่าวขึ้น ต้องรีบพบแพทย์และเดินทางลงสู่พื้นที่ต่ำกว่าทันที

อนึ่งนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่เดินทางไปพื้นที่สูงโดยทั่วๆไป เช่นไปเมืองลาซา คุซโก โบลิเวีย ทิเบต ส่วนใหญ่ . . . → Read More: Altitude Sickness #2 อาการและการป้องกัน